วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการตั้ง Password

 

        สวัสดีครับ Blog IS ก็เอาเรื่องเบาๆ สมองๆ มาให้อ่านกันเกี่ยวกับการตั้ง รหัสผ่าน หรือ Password นั่นเอง เนื่องจากเห็นน้องๆ ปี 1 มาใหม่อยู่ในช่วงต้องสมัครบริการต่างๆ บนเว็บไซต์ตั้งแต่ Banking ระบบลงทะเบียน mail เว็บ อื่นๆๆ มากมาย สำหรับหลักการต้้งรหัสผ่าน (password) ให้ปลอดภัยนั้นมีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กูเกิลมาโชว์ของแบบเก๋ๆ (อีกแล้ว)


กูเกิลจัดหนักโชว์เทคโนโลยีใหม่ของเขาแบบเก๋ไก๋สไลด์เดอร์ให้เราดูกันอีกแล้วล่ะ!
           ถ้าพูดถึง Tech Demo หรือการสาธิตแสดงเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายๆ คนน่าจะคุ้นหูคุ้นตากับงานแถลงข่าวหรือวิดีโอ ที่มีคนไปยืนพูดอยู่บนเวทีให้เราฟัง ส่วนฉากหลังก็โชว์สไลด์ประกอบสิ่งที่พวกเขาพูดไปเรื่อยๆ ซึ่งรูปแบบการนำเสนอนี้ถูกนำเอาไปใช้กันเยอะ บ้างก็ดูสนุก ตื่นเต้น แต่บ้างก็น่าเบื่อเสียเหลือเกิน เพราะมันต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่คอยนำเสนอเราเป็นส่วนใหญ่
แล้วจะทำอย่างไรกันดีล่ะ ให้การนำเสนอมันน่าสนุกตื่นเต้นจนคนดูอุทานออกมาว่า 'เจ๋งเป้ง' ได้?

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Google Book Search ถึงทางตัน ?

Google Book Search ถึงทางตัน ?
       ไม่รู้จะลงเอยท่าไหนสำหรับบริการห้องสมุดดิจิตอลของกูเกิล Google Book Search เมื่อศาลสหรัฐฯปฏิเสธไม่อนุมัติการยอมความระหว่างสำนักพิมพ์อเมริกันและกูเกิล ซึ่งฝ่ายหลังยอมจ่ายเงินมูลค่า 125 ล้านเหรียญเป็นค่าไกล่เกลี่ยเพื่อให้ได้สิทธิสแกนหนังสืออีกหลายล้านเล่มช่วงปี 2009 โดยศาลให้เหตุผลว่าการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับเหล่าสำนักพิมพ์เช่นนี้ เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดการผูกขาดการค้าในตลาดหนังสือออนไลน์ รวมถึงขัดต่อกฏหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ แม้จะยอมรับว่าโครงการสแกนหนังสือสามารถเป็นประโยชน์ต่อประชากรโลกได้จริง
     

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ใบเซอร์

  มีหลายอาชีพ-หลากตำแหน่งบนโลกนี้ที่ปริญญาบัตรเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้สามารถทำงานอยู่ในวงการนั้นๆได้ เช่น แพทย์ ต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ วิศวกร ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) และผู้ตรวจสอบบัญชี ก็ต้องมีใบประกาศ ฯ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant: CPA)
       
       ต้องยอมรับว่าใบรับรองในวิชาชีพเหล่านี้สามารถสร้างความมั่นใจ เสริมความภาคภูมิใจ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น เป็นการเพิ่มค่าตัว (value added) ที่ดีและง่ายที่สุด แถมยังเป็นการแข่งกับตัวเอง และแข่งกับมาตรฐานของความรู้ทั้งที่ผ่านการศึกษาและการใช้ประสบการณ์จริงจากการทำงาน เพื่อสอบผ่านการรับรองมาตรฐานวิชาชีพเหล่านั้นให้ได้

Tablet กับห้องสมุดและสื่อนิตยสาร

ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมาโดยเฉพาะหากติดตามงาน CES 2011 จะเห็นว่าปีนี้เป็นปีของ Tablet อย่างไม่ต้องสงสัย แต่อย่าลืมครับว่าเป็นปีแห่งการเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่ใช่ปีแห่งการแพร่หลายและลดราคา ดังนั้นอย่างเร็วอีก 4 ปี หรือนานกว่านั้นจบจนราคา Tablet จะต่ำกว่า 10,000 หรือ 5,000 จะยิ่งแพร่หลายกว่านี้ อย่างไรก็ตามมี 2 ประเด็นที่ผมอดสงสัยไม่ได้ และอยากรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของมันจากการการมาของ Tablet
1. ห้องสมุด สมัยที่เรายังเด็ก เราอาศัยห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ เพราะรวมรวมหนังสือที่มีข้อมูลเชิงลึกจำนวนมาก โดยเราไม่ต้องใช้เงินมากมายซื้อหา ปัจจุบันก็มีหลายคนที่ทำงานด้านวิชาการคงยังอาศัยห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ แต่จากการเกิดขึ้นของ Tablet ปีที่แล้ว ซึ่งจะกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในชีวิตประจำวันอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหนังสือหรือเอกสารต่างๆ ในห้องสมุดถูกแปลงเป็นสื่อดิจิตอล เป็น E-Book สามารถไปอ่านบน Tablet ได้ทุกที่ คำถามที่ตามมาคือ แล้วจะยืม จะคืน หนังสือ เอกสาร กันอย่างไร แล้วจะเกิดอะไรกับห้องสมุดในอีก 20 ปีข้างหน้า มันจะหดจากห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยหนังสือนับหมื่น นับแสน หรือนับล้านเล่ม เหลือเพียงห้องเล็กๆ ที่มีหนังสือจำนวนหนึ่งไว้พอนั่งอ่าน มีเครื่องสแกนหนังสือตั้งโชว์ แล้วเมื่อสแกนเสร็จก็ Upload ไปเก็บบน Cloud

ย้อนกลับไปเพียง 3 ปีก่อน ผมว่าคำถามเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นมากนัก แม้ว่าจะพอคาดเดาได้ว่าอย่างไรเสียห้องสมุดคงต้องหดตัวลงอย่างแน่นอนจากการมาของสื่อดิจิตอล E-Book รวมไปถึงโครงการสแกนหนังสือของ Google ที่สแกนหนังสือไปแล้วนับล้านเล่ม เพียงแต่ 3 ปีก่อน การอ่าน E-Book ผ่าน PC, Notebook หลายๆ ชั่วโมงติดต่อกันไม่ใช่เรื่องที่น่าพิศมัยมากนัก ทั้งไม่สะดวกและแสบตาจากจอ Monitor แต่จากการมาของ Tablet ที่จะบางและเบาพกพาสะดวก จอที่คมชัดซึ่งอาจไม่เหมาะการอ่านแต่ก็สะดวกในการใช้งานหาข้อมูล อีกทั้งยังมีชนิดหน้าจอ E-Ink ที่เร่งพัฒนามาเป็นทางเลือก การมาของ Tablet จึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อการเป็นอยู่ของห้องสมุด
2. นิตยสาร หลายปีมานี้สื่อต่างๆ พยายามปรับตัวจากรายได้ที่หดลงไป เพราะงบโฆษณาถูกโยกไป New Media เห็นได้ชัดในตลาดอเมริกาที่สื่อโฆษณาโดน Google กินเรียบ หลายรายต้องปิดกิจการ สถานการณ์แบบนี้ยังเกิดขึ้นต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเราจะเห็นหัวข้อสัมมนา “ธุรกิจสื่อควรปรับตัวอย่างไร” ต่อเนื่องไปอีก 1 – 2 ปีข้างหน้านี้ และหลังการเปิดตัวของ Tablet ยิ่งน่าสนใจ ว่าจะยิ่งทำให้นิตยสารเจ๊งเร็วขึ้น เพราะต้องขึ้นไปแข่งกับสื่อดิจิตอลอื่นๆ ไม่ว่าเว็บ บล็อก หรือเว็บบอร์ด ที่อยู่บน Tablet เดียวกัน หรืออาจเป็นทางรอดเพราะสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก คำตอบนี้คงตอบไม่ยากปลายปีนี้ หลังจากนิตยสารเริ่มมี Format สำหรับสื่อ Tablet เราคงเห็นผู้เชียวชาญในอุตสาหกรรมมาวิเคราะห์และเห็นทิศทางที่ชัดขึ้น ว่า Tablet จะมาช่วยนิตยสารได้หรือเปล่า

คู่มือเพื่อเตรียมสอบบรรณารักษ์อาชีพ


วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือคู่มือเตรียมสอบบรรณารักษ์แล้วกันนะครับ
ผมเชื่อว่ามีหลายคนกำลังตามหาหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน
librarianbook
รายละเอียดของหนังสือ
ชื่อเรื่อง : คู่มือสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตำแหน่ง เจ้าหน้าบรรณารักษ์
ผู้แต่ง : ทวีศักดิ์ ตังส์พานิชกุล
จำนวนหน้า : 380 หน้า
ราคา : 110 บาท
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับคนที่ตั้งใจจะสอบบรรจุในตำแหน่งบรรณารักษ์ของงานราชการต่างๆ
เช่น บรรณารักษ์ระดับ 3, บรรณารักษ์ กทม., และบรรณารักษ์ในหน่วยงานต่างๆ
เนื้อหาที่อยู่ในเล่มนี้
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบรรณารักษศาสตร์
- ความหมายของบรรณารักษศาสตร์
- การบริการสารนิเทศ
- การดำเนินงานของห้องสมุด
- วัสดุห้องสมุดงานจัดหา
- สรุปสาระที่ควรทำความเข้าใจ
- การจดบันทึก
- สรุปสาระสำคัญที่ควรทำความเข้าใจ การใช้บัตรรายการ
- คอมพิวเตอร์กับงานห้องสมุด
- ความสัมพันธ์ระหว่างงานสารบรรณกับการธุรการ
- การจัดหมู่หนังสือระบบดิวอี้
- แนวข้อสอบบรรณารักษ์ (เจ้าหน้าที่ห้องสมุด)
- คำปฏิญาณตนตามจรรยาบรรณารักษ์
- แผนภูมิแสดงการบริหารงานห้องสมุด
- แผนภูมิการบริการและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
เห็นแค่หัวข้อบางอย่างก็พอจะเดาได้แล้วใช่มั้ยครับว่า
บรรณารักษ์ของราชการสอบแนวไหนบ้าง
หนังสือเล่มนี้จริงๆ แล้วนอกจากคนที่จะเตรียมสอบแล้ว
ผมว่า บรรณารักษ์ที่ทำงานอยู่แล้วอยากได้ความรู้แน่นๆ ก็น่าจะหามาอ่านบ้างนะครับ
เอาเป็นว่าก็ลองตามหาหนังสือเล่มนี้ดูนะครับ
ที่แอบๆ ดูมารู้แค่ว่ามีขายที่ร้านซีเอ็ดบางสาขาเท่านั้น
ลองดูที่ http://se-ed.com/eShop/BookDetail.aspx?CategoryId=0&No=2225410001302&AspxAutoDetectCookieSupport=1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2


นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
ออกในเดือนเมษายน 2554
ผ่านสงกรานต์มาสักระยะนึงแล้ว ผมก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาคอยนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อ
ซึ่งในที่สุดก็ออกมาให้ผมได้อ่านจนได้ (ออกสายไปนิดนึงนะครับ แต่ให้อภัยได้)

โดยฉบับนี้ไฮไลท์อยู่ที่เรื่องจากปกครับ ซึ่งพูดถึง “มหานครแห่งการอ่าน”
แม่นแล้วครับ เมื่อต้นเดือนเรามีเรื่องของสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันรักการอ่าน
ซึ่งหัวข้อนึงที่คนจับตาดูและให้ความสนใจคือ การผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งการอ่าน นั่นเอง
เอาเป็นว่าลองไปอ่านกันดูเลยดีกว่าครับ
เรื่องจากปก : มหานครแห่งการอ่าน
บทความ : สีสัน สรรสี
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้
มีอะไรน่าอ่านมากมายเลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองอ่านแล้วเก็บไอเดียไปคิดเพื่อต่อยอดในการทำงานนะครับ
สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขออตัวไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อก่อนนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com