วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการตั้ง Password

 

        สวัสดีครับ Blog IS ก็เอาเรื่องเบาๆ สมองๆ มาให้อ่านกันเกี่ยวกับการตั้ง รหัสผ่าน หรือ Password นั่นเอง เนื่องจากเห็นน้องๆ ปี 1 มาใหม่อยู่ในช่วงต้องสมัครบริการต่างๆ บนเว็บไซต์ตั้งแต่ Banking ระบบลงทะเบียน mail เว็บ อื่นๆๆ มากมาย สำหรับหลักการต้้งรหัสผ่าน (password) ให้ปลอดภัยนั้นมีดังนี้

  • พาสเวิร์ดของคุณควรมีตัวอักษรอย่างน้อย 8 ตัว และประกอบด้วยอักษรตัวใหญ่ และตัวเล็ก ตลอดจนตัวเลข และสัญลักษณ์ ยิ่งผสมกันได้มากเท่าไร ยิ่งปลอดภัยเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้วันเดือนปีเกิด ชื่อตัว(ชื่อแฟน เพื่อนสนิท พ่อแม่พี่น้อง ฯลฯ) ชื่อจังหวัด หรือข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา มาใช้ในการตั้งรหัสผ่าน
  • ควรใช้รหัสผ่านแยกกัน หากเป็นคนละบัญชีผู้ใช้งาน โดยเฉพาะรหัสผ่านที่ใช้เข้าถึงข้อมูลสำคัญเช่น ธนาคารออนไลน์ แต่ถ้าขี้เกียจจำ คุณอาจจะใช้วิธีตั้งพาสเวิร์ดเป็นพวกเดียวกัน โดยใช้ตัวเลขที่ตามหลังเป็นตัวแยกความแตกต่างของพาสเวิร์ดแต่ละบัญชีผู้ใช้ก็ได้
  • อย่าเลือกออปชันจัดเก็บรหัสผ่านอัตโนมัติของบราวเซอร์ หากเครื่องของคุณใช้ร่วมกับผู้อื่น อันนี้เตือนบ่อย แต่ก็พบบ่อย และก็เสียรู้กันบ่อย
  • อย่าส่งพาสเวิร์ดให้ใครทั้งทางกาย วาจา อีเมล์ msn และ sms พึงระลึกว่า มันคือ รหัสลับของคุณที่ไม่ควรส่งไปให้ใครเด็ดขาด
  • อย่าจดรหัสผ่านลงบนกระดาษ หรือสมุดโน้ตใดๆ ของคุณ แต่ถ้าจำเป็น ควรเก็บเอกสารไว้ในที่ปลอดภัย ไม่ใช่ใกล้คอมพิวเตอร์
  • เปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 3 เดือน เพื่อลดโอกาสที่ใครจะแกะรหัสของคุณออก
แล้ว Password ที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร?
1. มีการใช้ตัวอักษรที่หลากหลาย ใช้ตัวอักษรทั้งตัวใหญ่และเล็ก ใช้ตัวเลข ใช้สัญลักษณ์ (@#$%^&*) เช่น Somsri เราก็ใส่เข้าไปให้มันยากขึ้นเป็น $oMSri422R
ทำไม? : ถ้า hacker ต้องการจะ hack password เราจริงๆโดยการไล่จากเลข 1-10 หรือไล่จากตัว a ไป z,   เมื่อเราใส่ความหลากหลายมากขึ้น จำนวนความเป็นไปได้ก็มากขึ้น , hacker ก็ใช้เวลานานขึ้นในการไล่หา

2. มีความยาวตัวอักษรตั้งแต่หรือมากกว่า 8 ตัวอักษรขึ้นไป
ทำไมต้อง 8 ตัวอักษร?  ดูตารางนี้ครับ ตารางนี้แสดงเวลาที่ Computer  ทั่วๆไปใช้ในการไล่หา Password … ถ้า Password เราเป็นแบบ “ใช้ทุกตัวอักษร” และมีความยาว 8 ตัว… Computer (ทั่วไป) ก็ต้องใช้เวลาถึง 210 ปีกว่าไล่จะหา Password ได้ , hacker ที่ทำกว่าจะได้ Password ก็แก่ตายพอดี….  แต่ว่าถ้าใช้ Super Computer ก็จะเร็วกว่านี้ … ดังนั้น ยิ่งยาวยิ่งดีครับ


3. Password ที่ใช้ไม่มีความหมายใน Dictionary  , ถ้าไม่มีความหมาย “เราก็จะจำยาก” ดังนั้นเราควรจะใช้คำที่มีความหมาย แต่ทำให้ไม่มีความหมายด้วยวิธีเหล่านี้
3.1 แทนตัวอักษรด้วยตัวเลขที่คล้ายๆกัน เช่น แทน o (ตัวโอ) ด้วย 0 (เลขศูนย์) , แทนตัว i ด้วยเลข 1, แทนตัว S ด้วยเลข 5 อะไรอย่างนี้ เช่น Somsri อาจจะเขียนเป็น 50m5r1 ก็ได้ เท่ห์ม่ะ
3.2 ใช้เทคนิคเลื่อนตำแหน่งพิมพ์บน Keyboard …เช่น ปกติเราพิมพ์ยังไง ก็พิมพ์แบบเดิม แต่เลื่อนตำแหน่งพิมพ์ขึ้นไปด้านบนของ Keyboard 1 แถว เช่น somsri พอเลื่อนขึ้นไปพิมพ์หนึ่งแถวก็จะเป็น w9jw48 (ลองมองตำแหน่งตัวอักษรที่ Keyboard แล้วจะเข้าใจ) … นอกจากจะเลื่อนด้านบนแล้ว จะเลื่อนซ้าย จะเลื่อนขวา จะเลื่อนลงมาข้างล่างก็ได้ … เลื่อนไปเลย 2 ช่องก็ได้…. วิธีนี้จะง่ายมากสำหรับคนพิมพ์สัมผัส
3.3 พิมพ์แบบไทย แต่ใช้ Keyboard ภาษาอังกฤษ เช่น  ”สมศรี” ถ้าเราพิมพ์แบบภาษาไทยใน Keyboard ภาษาอังกฤษก็จะได้แบบนี้ครับ ” l,Liu”
3.4 แทนชื่อเพลงชื่อรถหรือประโยคที่เราชอบด้วยตัวอักษรหน้าอย่างเดียว เช่น เราชอบเพลง My Heart Will Go On เราก็สร้าง password ได้แบบนี้ MHWGO
3.5 ผสม 2 คำโดยสลับตัวอักษร เช่น ผสม “My Heart Will Go On” กับ “Just The Way You Are” ก็เป็น  MjHtWwGyOa …
3.6 แทนตัวอักษรด้วยตัวเลขบนแป้นโทรศัพท์, บนแป้นโทรศัพท์ 1 แป้นจะมีตัวเลข 1 ตัวและตัวอักษร 3-4 ตัวอักษร เช่น  Somsri เราก็จะได้ 766774 … อ่านที่นี่ถ้าไม่เข้าใจ

4. แต่ละเว็บ Password ที่ใช้ต้องไม่ซ้ำกัน , การสร้าง Password แต่ละเว็บให้ไม่ซ้ำกันก็ทำได้แหละโดยใช้เทคนิคข้างต้้น แต่ปัญหาคือ “จำไม่ได้” แล้วทำไง? อ่านต่อไป


ตั้ง Password ยังไงหล่ะให้ “ปลอดภัย” และ “จำได้”
1. สร้าง Password ที่ดีแบบตายตัวก่อน (Static) โดย “เลือกใช้”, “ผสม” , “สลับ” เทคนิคที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น ถ้าผมเป็นคุณสมศรี ผมก็จะตั้ง  Password ประมาณแบบนี้ …  W9jw48$0m5Ri … มาจาก “พิมพ์ somsri เลื่อน Keyboard ขึ้นไป 1 แถว” + ” Somsri โดยใช้สัญลักษณ์และตัวเลขแทนตัวอักษร”  เสร็จแล้วสุ่มเปลี่ยนตัวอักษรเล็กให้เป็นตัวใหญ่ (ผมเปลี่ยน w เป็น W , และเปลี่ยน r เป็น R)  แล้วจะเห็นได้ว่ามีความยาวตัวอักษรมากกว่า 8 ตัวด้วย
2. สร้าง”สูตร” Password แบบแปรผัน (Dynamic) ตามแต่ละเว็บขึ้นมา, เช่น สูตร คือ เอาตัวอักษร 4 ตัวแรกของชื่อเว็บมาใส่ข้างหน้า Password แบบตายตัวของเราเช่น
คุณสมศรีกับ facebook.com เราก็จะได้ password เป็น “faceW9jw48$0m5Ri”
คุณสมศรีกับ yahoo.com เราก็จะได้ password เป็น “yahoW9jw48$0m5Ri”
คุณสมศรีกับ windows เราก็จะได้  password เป็น ”windW9jw48$0m5Ri”
นอกจากจะใส่ด้านหน้า เราจะสร้างสูตรให้สลับซับซ้อนขึ้นอีกยังไงก็ได้ เช่น 2 ตัวอักษรแรกใส่ไว้ข้างหน้า 2ตัวอักษรหลังใส่ไว้ข้างหลัง …

ดังนั้นสุดท้ายสิ่งที่เราต้องจำก็แค่
1. password แบบตายตัวของเรา
2. สูตรแบบแปรผันตามชื่อเว็บ

ปล.เว็บบางเว็บอาจจะจำกัดความยาว Password หรืออาจจะจำกัดไม่ให้ใช้สัญลักษณ์ในการสร้าง Password  … ดังนั้น password ตายตัวหรือว่าสูตรที่เราสร้างขึ้นอาจจะไม่สามารถใช้ได้ เราอาจจะต้องจำแยกต่างหากสำหรับเว็บพวกนั้น หรือไม่เราก็อาจจะสร้าง password ตายตัวและสูตรอีกแบบ ที่ไม่ได้ใช้สัญลักษณ์และความยาวโดยรวมของ Password ไม่ยาวมาก … แต่ว่าเว็บหรือบริการที่จำกัดอย่างนี้มีไม่มากหรอกจากที่ผมใช้ๆมา

อีกทางเลือกนึง
นอกจากที่เราต้องจำ Password ทุกเว็บเองแล้ว มันก็มีSoftwareหรือบริการอีกจำพวกนึงที่ให้เราใส่ password ทุกๆอย่างทุกๆเว็บของเราไว้ในมัน  เสร็จแล้วเราก็ใส่ Master Password ไว้ล็อค password ทั้งหมดของเราอีกที  ดังนั้นเราก็แค่จำ Master Password แค่อันเดียวก็พอ
ตัวอย่าง Software/Service ประเภทนี้ก็คือ KeePass , LastPass, 1Password
…. แต่!!! โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบและไม่คิดว่ามันปลอดภัย เพราะว่าถ้าเราลืมหรือว่าโดนhack  Master Password ไปแค่อันเดียว เราก็จบกันเหมือนกัน  อีกอย่างก็คือกว่าจะหา password ได้เราต้องเข้าไปใน software นั้นๆก่อนเสมอ  ดังนั้นกว่าจะหา password เข้าเว็บสักเว็บหนึ่งได้ ก็ต้องใช้เวลานานขึ้นมีขั้นตอนมากขึ้น  ผมว่าผมจำเองดีกว่า!!!

อ้างอิง
http://lifehacker.com/5505400/how-id-hack-your-weak-passwords
http://lifehacker.com/184773/geek-to-live–choose-and-remember-great-passwords
http://www.wikihow.com/Create-a-Password-You-Can-Remember
อ้างอิงรูป
http://www.flickr.com/photos/jerseyimage/1591607574/

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ครับ

    ตอบลบ
  2. Appreciation to my father who told me regarding this weblog, this weblog is genuinely amazing. How To Lock Files In Less Than Eight Minutes Using These Amazing Tools

    ตอบลบ