วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการตั้ง Password

 

        สวัสดีครับ Blog IS ก็เอาเรื่องเบาๆ สมองๆ มาให้อ่านกันเกี่ยวกับการตั้ง รหัสผ่าน หรือ Password นั่นเอง เนื่องจากเห็นน้องๆ ปี 1 มาใหม่อยู่ในช่วงต้องสมัครบริการต่างๆ บนเว็บไซต์ตั้งแต่ Banking ระบบลงทะเบียน mail เว็บ อื่นๆๆ มากมาย สำหรับหลักการต้้งรหัสผ่าน (password) ให้ปลอดภัยนั้นมีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กูเกิลมาโชว์ของแบบเก๋ๆ (อีกแล้ว)


กูเกิลจัดหนักโชว์เทคโนโลยีใหม่ของเขาแบบเก๋ไก๋สไลด์เดอร์ให้เราดูกันอีกแล้วล่ะ!
           ถ้าพูดถึง Tech Demo หรือการสาธิตแสดงเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายๆ คนน่าจะคุ้นหูคุ้นตากับงานแถลงข่าวหรือวิดีโอ ที่มีคนไปยืนพูดอยู่บนเวทีให้เราฟัง ส่วนฉากหลังก็โชว์สไลด์ประกอบสิ่งที่พวกเขาพูดไปเรื่อยๆ ซึ่งรูปแบบการนำเสนอนี้ถูกนำเอาไปใช้กันเยอะ บ้างก็ดูสนุก ตื่นเต้น แต่บ้างก็น่าเบื่อเสียเหลือเกิน เพราะมันต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่คอยนำเสนอเราเป็นส่วนใหญ่
แล้วจะทำอย่างไรกันดีล่ะ ให้การนำเสนอมันน่าสนุกตื่นเต้นจนคนดูอุทานออกมาว่า 'เจ๋งเป้ง' ได้?

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Google Book Search ถึงทางตัน ?

Google Book Search ถึงทางตัน ?
       ไม่รู้จะลงเอยท่าไหนสำหรับบริการห้องสมุดดิจิตอลของกูเกิล Google Book Search เมื่อศาลสหรัฐฯปฏิเสธไม่อนุมัติการยอมความระหว่างสำนักพิมพ์อเมริกันและกูเกิล ซึ่งฝ่ายหลังยอมจ่ายเงินมูลค่า 125 ล้านเหรียญเป็นค่าไกล่เกลี่ยเพื่อให้ได้สิทธิสแกนหนังสืออีกหลายล้านเล่มช่วงปี 2009 โดยศาลให้เหตุผลว่าการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับเหล่าสำนักพิมพ์เช่นนี้ เป็นความเสี่ยงทำให้เกิดการผูกขาดการค้าในตลาดหนังสือออนไลน์ รวมถึงขัดต่อกฏหมายลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ แม้จะยอมรับว่าโครงการสแกนหนังสือสามารถเป็นประโยชน์ต่อประชากรโลกได้จริง
     

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ใบเซอร์

  มีหลายอาชีพ-หลากตำแหน่งบนโลกนี้ที่ปริญญาบัตรเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้สามารถทำงานอยู่ในวงการนั้นๆได้ เช่น แพทย์ ต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ วิศวกร ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) และผู้ตรวจสอบบัญชี ก็ต้องมีใบประกาศ ฯ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (Certified Public Accountant: CPA)
       
       ต้องยอมรับว่าใบรับรองในวิชาชีพเหล่านี้สามารถสร้างความมั่นใจ เสริมความภาคภูมิใจ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น เป็นการเพิ่มค่าตัว (value added) ที่ดีและง่ายที่สุด แถมยังเป็นการแข่งกับตัวเอง และแข่งกับมาตรฐานของความรู้ทั้งที่ผ่านการศึกษาและการใช้ประสบการณ์จริงจากการทำงาน เพื่อสอบผ่านการรับรองมาตรฐานวิชาชีพเหล่านั้นให้ได้

Tablet กับห้องสมุดและสื่อนิตยสาร

ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมาโดยเฉพาะหากติดตามงาน CES 2011 จะเห็นว่าปีนี้เป็นปีของ Tablet อย่างไม่ต้องสงสัย แต่อย่าลืมครับว่าเป็นปีแห่งการเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่ใช่ปีแห่งการแพร่หลายและลดราคา ดังนั้นอย่างเร็วอีก 4 ปี หรือนานกว่านั้นจบจนราคา Tablet จะต่ำกว่า 10,000 หรือ 5,000 จะยิ่งแพร่หลายกว่านี้ อย่างไรก็ตามมี 2 ประเด็นที่ผมอดสงสัยไม่ได้ และอยากรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของมันจากการการมาของ Tablet
1. ห้องสมุด สมัยที่เรายังเด็ก เราอาศัยห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ เพราะรวมรวมหนังสือที่มีข้อมูลเชิงลึกจำนวนมาก โดยเราไม่ต้องใช้เงินมากมายซื้อหา ปัจจุบันก็มีหลายคนที่ทำงานด้านวิชาการคงยังอาศัยห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ แต่จากการเกิดขึ้นของ Tablet ปีที่แล้ว ซึ่งจะกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในชีวิตประจำวันอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหนังสือหรือเอกสารต่างๆ ในห้องสมุดถูกแปลงเป็นสื่อดิจิตอล เป็น E-Book สามารถไปอ่านบน Tablet ได้ทุกที่ คำถามที่ตามมาคือ แล้วจะยืม จะคืน หนังสือ เอกสาร กันอย่างไร แล้วจะเกิดอะไรกับห้องสมุดในอีก 20 ปีข้างหน้า มันจะหดจากห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยหนังสือนับหมื่น นับแสน หรือนับล้านเล่ม เหลือเพียงห้องเล็กๆ ที่มีหนังสือจำนวนหนึ่งไว้พอนั่งอ่าน มีเครื่องสแกนหนังสือตั้งโชว์ แล้วเมื่อสแกนเสร็จก็ Upload ไปเก็บบน Cloud

ย้อนกลับไปเพียง 3 ปีก่อน ผมว่าคำถามเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นมากนัก แม้ว่าจะพอคาดเดาได้ว่าอย่างไรเสียห้องสมุดคงต้องหดตัวลงอย่างแน่นอนจากการมาของสื่อดิจิตอล E-Book รวมไปถึงโครงการสแกนหนังสือของ Google ที่สแกนหนังสือไปแล้วนับล้านเล่ม เพียงแต่ 3 ปีก่อน การอ่าน E-Book ผ่าน PC, Notebook หลายๆ ชั่วโมงติดต่อกันไม่ใช่เรื่องที่น่าพิศมัยมากนัก ทั้งไม่สะดวกและแสบตาจากจอ Monitor แต่จากการมาของ Tablet ที่จะบางและเบาพกพาสะดวก จอที่คมชัดซึ่งอาจไม่เหมาะการอ่านแต่ก็สะดวกในการใช้งานหาข้อมูล อีกทั้งยังมีชนิดหน้าจอ E-Ink ที่เร่งพัฒนามาเป็นทางเลือก การมาของ Tablet จึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อการเป็นอยู่ของห้องสมุด
2. นิตยสาร หลายปีมานี้สื่อต่างๆ พยายามปรับตัวจากรายได้ที่หดลงไป เพราะงบโฆษณาถูกโยกไป New Media เห็นได้ชัดในตลาดอเมริกาที่สื่อโฆษณาโดน Google กินเรียบ หลายรายต้องปิดกิจการ สถานการณ์แบบนี้ยังเกิดขึ้นต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเราจะเห็นหัวข้อสัมมนา “ธุรกิจสื่อควรปรับตัวอย่างไร” ต่อเนื่องไปอีก 1 – 2 ปีข้างหน้านี้ และหลังการเปิดตัวของ Tablet ยิ่งน่าสนใจ ว่าจะยิ่งทำให้นิตยสารเจ๊งเร็วขึ้น เพราะต้องขึ้นไปแข่งกับสื่อดิจิตอลอื่นๆ ไม่ว่าเว็บ บล็อก หรือเว็บบอร์ด ที่อยู่บน Tablet เดียวกัน หรืออาจเป็นทางรอดเพราะสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก คำตอบนี้คงตอบไม่ยากปลายปีนี้ หลังจากนิตยสารเริ่มมี Format สำหรับสื่อ Tablet เราคงเห็นผู้เชียวชาญในอุตสาหกรรมมาวิเคราะห์และเห็นทิศทางที่ชัดขึ้น ว่า Tablet จะมาช่วยนิตยสารได้หรือเปล่า

คู่มือเพื่อเตรียมสอบบรรณารักษ์อาชีพ


วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือคู่มือเตรียมสอบบรรณารักษ์แล้วกันนะครับ
ผมเชื่อว่ามีหลายคนกำลังตามหาหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน
librarianbook
รายละเอียดของหนังสือ
ชื่อเรื่อง : คู่มือสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตำแหน่ง เจ้าหน้าบรรณารักษ์
ผู้แต่ง : ทวีศักดิ์ ตังส์พานิชกุล
จำนวนหน้า : 380 หน้า
ราคา : 110 บาท
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับคนที่ตั้งใจจะสอบบรรจุในตำแหน่งบรรณารักษ์ของงานราชการต่างๆ
เช่น บรรณารักษ์ระดับ 3, บรรณารักษ์ กทม., และบรรณารักษ์ในหน่วยงานต่างๆ
เนื้อหาที่อยู่ในเล่มนี้
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบรรณารักษศาสตร์
- ความหมายของบรรณารักษศาสตร์
- การบริการสารนิเทศ
- การดำเนินงานของห้องสมุด
- วัสดุห้องสมุดงานจัดหา
- สรุปสาระที่ควรทำความเข้าใจ
- การจดบันทึก
- สรุปสาระสำคัญที่ควรทำความเข้าใจ การใช้บัตรรายการ
- คอมพิวเตอร์กับงานห้องสมุด
- ความสัมพันธ์ระหว่างงานสารบรรณกับการธุรการ
- การจัดหมู่หนังสือระบบดิวอี้
- แนวข้อสอบบรรณารักษ์ (เจ้าหน้าที่ห้องสมุด)
- คำปฏิญาณตนตามจรรยาบรรณารักษ์
- แผนภูมิแสดงการบริหารงานห้องสมุด
- แผนภูมิการบริการและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
เห็นแค่หัวข้อบางอย่างก็พอจะเดาได้แล้วใช่มั้ยครับว่า
บรรณารักษ์ของราชการสอบแนวไหนบ้าง
หนังสือเล่มนี้จริงๆ แล้วนอกจากคนที่จะเตรียมสอบแล้ว
ผมว่า บรรณารักษ์ที่ทำงานอยู่แล้วอยากได้ความรู้แน่นๆ ก็น่าจะหามาอ่านบ้างนะครับ
เอาเป็นว่าก็ลองตามหาหนังสือเล่มนี้ดูนะครับ
ที่แอบๆ ดูมารู้แค่ว่ามีขายที่ร้านซีเอ็ดบางสาขาเท่านั้น
ลองดูที่ http://se-ed.com/eShop/BookDetail.aspx?CategoryId=0&No=2225410001302&AspxAutoDetectCookieSupport=1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2


นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 4 เล่มที่ 2
ออกในเดือนเมษายน 2554
ผ่านสงกรานต์มาสักระยะนึงแล้ว ผมก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาคอยนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อ
ซึ่งในที่สุดก็ออกมาให้ผมได้อ่านจนได้ (ออกสายไปนิดนึงนะครับ แต่ให้อภัยได้)

โดยฉบับนี้ไฮไลท์อยู่ที่เรื่องจากปกครับ ซึ่งพูดถึง “มหานครแห่งการอ่าน”
แม่นแล้วครับ เมื่อต้นเดือนเรามีเรื่องของสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันรักการอ่าน
ซึ่งหัวข้อนึงที่คนจับตาดูและให้ความสนใจคือ การผลักดันกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งการอ่าน นั่นเอง
เอาเป็นว่าลองไปอ่านกันดูเลยดีกว่าครับ
เรื่องจากปก : มหานครแห่งการอ่าน
บทความ : สีสัน สรรสี
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้
มีอะไรน่าอ่านมากมายเลยใช่มั้ยครับ เอาเป็นว่าก็ลองอ่านแล้วเก็บไอเดียไปคิดเพื่อต่อยอดในการทำงานนะครับ
สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขออตัวไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ต่อก่อนนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

คู่มือสำหรับเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในต่างประเทศ


ปัญหาใหญ่ของห้องสมุดหลายๆ แห่ง คือ ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเจ้าไหนดี
นิตยสาร Computers in libraries จึงรวบรวม vendor และ product ไว้ให้ห้องสมุดต่างๆ ศึกษา
ก่อนอื่นก็แนะนำให้ดาวน์โหลดมาดูกันก่อนนะครับ
ดาวน์โหลดตัวเล่มได้ที่ http://www.infotoday.com/cilmag/CILMag_ILSGuide.pdf
เนื้อหาภายในเล่มก็อย่างที่เกริ่นไว้นั่นแหละครับ ประกอบไปด้วย
- ชื่อของ vendor (ตัวแทนจำหน่าย)
- โปรแกรมที่ vendor ต่างๆ นำเสนอ
ซึ่งโปรแกรมที่ vendor บางตัวผมก็อดสงสัยไม่ได้ เช่น KOHA
ทั้งๆ ที่เป็น Opensource นะครับ แต่ก็อยู่ใน LIST ของการนำเสนอ
แต่ก็อย่างที่บอกแหละครับ ว่านำเสนอ KOHA แต่ในแง่การพัฒนาและการดูแลรักษา
นอกจากนี้รายละเอียดของแต่ละ vendor ที่ให้จะบอกรายละเอียด เช่น
- ปีที่ออก (ซอฟท์แวร์ออกมาปีไหน)
- จำนวนห้องสมุดที่นำไปใช้
- กลุ่มเป้าหมาย (ห้องสมุดประชาชน,โรงเรียน,มหาวิทยาลัย,เฉพาะ,ราชการ)
- ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล์สำหรับติดต่อ
- เว็บไซต์ของบริษัท
ชื่อ ILS แปลกมากมายที่ผมก็เพิ่งจะเคยได้ยิน เช่น AGent VERSO, CyberTools for Libraries, Amlib, KLAS, LibraryWorld ฯลฯ อีกมากมายเลย
จริงๆ แล้วผมก็อยากรวบรวมของเมืองไทยแล้วทำเป็นรูปเล่มแบบนี้บ้างนะ
อย่างน้อยผมก็จะได้รู้จักระบบห้องสมุดต่างๆ หรือระบบห้องสมุดใหม่ในเมืองไทย
เอางี้ดีกว่าผมอยากให้เพื่อนๆ มีส่วนร่วม เพื่อนๆ ลองส่งชื่อ ILS ที่คิดว่าแปลกๆ หรือ ใหม่ๆ ในเมืองไทยให้ผมหน่อย (Comment ไว้ด้านล่าง) แล้วว่างๆ ผมจะศึกษาและนำมา review ให้เพื่อนๆ อ่านกัน

เทคโนโลยีของห้องสมุดตั้งแต่ปี 1968 – 2007


เรื่องเก่าเล่าใหม่อีกครั้งสำหรับเรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
จากบทความเรื่อง? 2007 Library Technology Guides Automation Trend Survey 
ซึ่งเป็นผลสำรวจที่มาจากเว็บไซต์ Library Technology Guides
libtech-copy
ลองเข้าไปดูกันนะว่าพัฒนาการของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดว่ามีอะไรบ้าง
ผมว่ามันน่าสนใจดีนะครับ เพราะบอกช่วงเวลาให้ด้วย
ซึ่งพอได้เห็นภาพว่าห้องสมุดเริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ ปี 1968
ซึ่งเทคโนโลยีตัวแรกที่มีการนำมาใช้ในห้องสมุด นั่นคือ ?NOTIS Systems? 
ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Northwestern University
แล้ว NOTIS Systems คืออะไร ผมก็ลองเข้าไปค้นหาคำตอบดู
ในยุคแรกของ NOTIS Systems เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่จัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรม
แต่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ
นอกจากเทคโนโลนีแรกของห้องสมุดแล้ว แผนภาพนี้ยังแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีห้องสมุดในยุค 2007 ด้วย
ซึ่งมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติชั้นนำอยู่ด้วย เช่น SirsiDynix, Ex Libris, VTLS ฯลฯ
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ต้องไปลองเปิดดูครับ

แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011


วันนี้เข้าไปอ่านบล็อกของกลุ่ม Social Network Librarian มาพบบทความที่น่าสนใจ
โดยบทความเรื่องนี้จะชี้ว่า Social Media กับงานห้องสมุดในปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร
ต้นฉบับเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า “Social Media and Library Trends for 2011” จากบล็อก socialnetworkinglibrarian
เมื่อปีก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Trend ด้านเทคโนโลยีของห้องสมุดในปี 2010 มาแล้ว
ลองอ่านดูที่ “ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า” ซึ่งประกอบด้วย
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.
ในปี 2011 บล็อก socialnetworkinglibrarian ก็ได้บอกว่า Trend ในปี 2011 มีดังนี้
1. Mobile applications
2. QR Codes
3. Google Applications
4. Twitter
5. Virtual reference
6. Collaboration between librarians
7. Teaching social media classes
8. Using social media for library promotion
จะสังเกตได้ว่า บางอย่างยังคงเดิม เช่น Mobile applications, Google Applications, Collaboration, Teaching social media classes และ library promotion ซึ่งแนวโน้มของสิ่งเหล่านี้มันก็บ่งบอกว่าเทคโนโลยียังคงปรับตัวเองไปเรื่อยๆ เช่นกัน ปีที่แล้วเราอาจจะพูดเรื่องการสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ห้องสมุดในแบบที่ใช้ในมือถือ ปีนี้ผมมองในส่วนของเรื่องโปรแกรมห้องสมุดที่หลายๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกสบายในการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น เอาเป็นว่าก็เป็นสิ่งที่น่าติดตาม
ส่วนตัวใหม่ๆ ที่เข้ามาในปีนี้ เช่น QR Codes, Twitter, Virtual reference จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ใหม่ในวงการไอทีหรอกครับ แต่ปีที่ผ่านมาจากการประชุมหลายๆ งานที่จัดได้พูดถึงเรื่องเหล่านี้มากขึ้น ปีก่อนเราพูดกันในภาพรวมของ social network โดยเฉพาะ Facebook มาปีนี้ Twitter มาแรงเหมือนกัน ห้องสมุดก็ต้องตามสิ่งเหล่านี้ให้ทันด้วย

ผมขอแสดงความคิดเห็นอีกเรื่องนึงคือ E-book readers ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังมองว่ามันเป็น trend อยู่
เนื่องจากราคาที่ถูกลงจนสามารถหาซื้อมาใช้ได้แล้ว แต่ข้อจำกัดอยู่ที่หนังสือภาษาไทยอาจจะยังมีไม่มาก
ผมก็ฝากบรรดาสำนักพิมพ์ในไทยด้วยนะครับว่า ถ้าสำนักพิมพ์ต่างๆ ออกหนังสือมาทั้งสองแบบ (ตัวเล่ม + E-book)
เป็นไงกันบ้างครับกับ Trend ด้าน Social Media ในวงการห้องสมุด
เพื่อนๆ คงเห็นภาพกว้างแล้วแหละ ลองแสดงความคิดเห็นมากันหน่อยครับว่าเพื่อนๆ เห็นต่างจากนี้อีกมั้ย
แล้วมี trend ไหนอีกบ้างที่ห้องสมุดของพวกเราต้องมองตาม…

“Ten Rules for the New Librarians“....ข้อปฏิบัติ 10 ข้อเพื่อการเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่


จริงๆ บทความที่ผมเอามาเล่าในวันนี้เป็นบทความที่ค่อนข้างเก่า
แต่ผมคิดว่า ในเมืองไทยเรื่องเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องใหม่ก็ได้
เป็นบทความที่ Michael Stephens เขียนขึ้น เพื่อใช้สำหรับสอนนักศึกษา
ในวิชา Introduction to Library and Information Science








บทความนี้ ชื่อว่า “Ten Rules for the New Librarians“
ได้พูดถึง ข้อปฏิบัติ 10 ข้อเพื่อการเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
ไม่อยากจะเชื่อว่าเขียนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว (Michael on June 30, 2006)




ข้อปฏิบัติเพื่อเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่มีดังนี้




1. Ask questions (ตั้งคำถาม)


          - ในขณะที่ถูกสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ อย่าให้คนสัมภาษณ์ถามเราอย่างเดียว บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรจะต้องรู้เรื่องของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น ถามคำถามว่าตอนนี้ห้องสมุดมีโครงการไอทีมากน้อยเพียงใด และมีแผนนโยบายของห้องสมุดเป็นอย่างไร



2. Pay attention (เอาใจใส่)


          - แล้วก็เวลาสัมภาษณ์งานบรรณารักษ์ ก็ขอให้มีความเอาใจใส่และสนใจกับคำถาม ที่คนสัมภาษณ์ถามด้วย ไม่ใช่ยิงคำถามอย่างเดียว ในการเอาใจใส่นี้อาจจะแทรกความคิดเห็นของเราลงไปในคำถามด้วย




3. Read far and wide (อ่านให้เยอะและอ่านให้กว้าง)


          - แน่นอนครับ บรรณารักษ์เราต้องรู้จักศาสตร์ต่างๆ รอบตัวให้ได้มากที่สุด



4. Understand copyright (เข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์)


          - เรื่องลิขสิทธิ์ถึงแม้ว่าตัวเรื่องจริงๆ จะเกี่ยวกับกฎหมาย แต่มันมีความเกี่ยวข้องกับห้องสมุดโดยตรงในเรื่องของการเผยแพร่สารสนเทศต่างๆ



5. Use the 2.0 tools (ใช้เครื่องมือ 2.0)


          - ตรงๆ เลยก็คือการนำเอา web 2.0 มาประยุกต์ใช้กับการให้บริหารในห้องสมุด หรือบางคนอาจจะเคยได้ยินเรื่อง library 2.0 ก็ว่างั้นแหละ ตัวอย่างของการเอาเครื่องมือด้าน 2.0 ลองอ่านจากบทความ “10 ​วิธีที่ห้องสมุดนำ​ RSS ​ไป​ใช้“



6. Work and Play (ทำงานกับเล่น)


          - อธิบายง่ายๆ ว่าทำงานอย่างมีความสุข บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างน้อยต้องรู้จักการประยุกต์การทำงานให้ ผู้ทำงานด้วยรู้สึกสนุกสนานกับงานไปด้วย เช่น อาจจะมีการแข่งขันในการให้บริการกัน หรือประกวดอะไรกันภายในห้องสมุดก็ได้



7. Manage yourself (จัดการชีวิตตัวเอง)


          - บางคนอาจจะบอกว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องทำโน้นทำนี่ “ฉันไม่มีเวลาหรอก” จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าไม่มีเวลาหรอกครับ แต่เพราะว่าเขาไม่จัดการระเบียบชีวิตของตัวเอง ดังนั้นพอมีงานจุกจิกมาก็มักจะบอกว่าไม่มีเวลา ดังนั้นบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากต้องจัดการห้องสมุดแล้ว การจัดการตัวเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน



8. Avoid technolust (ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี)


          - ห้ามอ้างว่าไม่รู้จักเทคโนโลยีโน้น หรือเทคโนโลยีนี้ บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องหัดใช้เทคโนโลยีให้ได้เบื้องต้น (เป็นอย่างน้อย)



9. Listen to the seasoned librarians (รับฟังความคิดเห็นของบรรณารักษ์ด้วยกัน)


          - อย่างน้อยการรับฟังแบบง่ายๆ ก็คือ คุยกับเพื่อนร่วมงานดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในการบริการ บรรณารักษ์ต้องช่วยเหลือกัน อย่างต่อมานั่นก็คือ การอ่านบล็อกของบรรณารักษ์ด้วยกันบ้าง บางทีไม่ต้องเชื่อทั้งหมด แต่ขอให้ได้ฟังความคิดเห็นกันบ้าง


10. Remember the Big Picture (จดจำภาพใหญ่)


           - ภาพใหญ่ในที่นี้ ไม่ใช้รูปภาพนะครับแต่เป็นมุมมองของความเป็นบรรณารักษ์ อุดมการณ์บรรณารักษ์ จรรยาบรรณและสิ่งต่างๆ ที่จะช่วยเราให้คิดถึงความเป็นบรรณารักษ์


เป็นอย่างไรกันบ้างครับ คิดว่าทำได้กันมั้ย
สำหรับผมก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามทั้งหมด บางข้ออาจจะทำได้ไม่เต็มที่แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทำมัน




ขอบคุณข้อมูลจาก   http://projectlib.wordpress.com/2008/03/25/10-rules-for-next-generation-librarian/

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

Asia Pacific Journal of Library and Information Science (APJLIS)

 สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีโครงการจัดทำวารสารวิจัยในสาขาบรรณารักษศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง จึงขอเชิญชวนบุคลากร, นักวิจัย ร่วมส่งบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ใน Asia Pacific Journal of Library and Information Science (APJLIS) มีกำหนดออกทุก 6 เดือน เพื่อตีพิมพ์บทความวิจัย และเผยแพร่ผลงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยท่านที่สนใจสามารถส่งบทความวิจัยที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสาร หรือการประชุมใด ขนาดความยาว ไม่เกิน 20หน้า A4 (รวมตารางและภาพประกอบ) พร้อมด้วยสาระสังเขปความยาวไม่เกิน 150 คำ ที่ อ.ลักษณา เถาว์ทิพย์ Email : laksana.t@msu.ac.th หรือ t_laksana@hotmail.com เอกสารจะที่ผ่านการพิจารณา (Review) จากผู้เชี่ยวชาญ จะถูกตีพิมพ์ในวารสาร APJLIS ฉบับปฐมฤกษ์ที่จะจัดพิมพ์เดือนมิถุนายน 2554 (สำหรับท่านที่มีต้นฉบับภาษาไทย หากพิจารณาว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสมควรได้รับการตีพิมพ์ ทางวารสารจะเป็นผู้ประสานงานในการแปลบทความเป็นภาษาอังกฤษ